วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ศูนย์ภูมิปัญญาไทบ้าน พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านปากมูน

แม่น้ำมูนเป็นแม่น้ำสายสำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีต้นน้ำอยู่ที่ จ.นครราชสีมา ไหลไปรวมกับแม่น้ำโขงที่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี เรียกอาณาบริเวณปากแม่น้ำนี้ว่า “ปากมูน” ซึ่งมีระบบนิเวศอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหาร และเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของชาวบ้านและชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ ชาวชุมชนปากมูนมีอาชีพทำประมงเป็นหลัก การสร้างเขื่อนปากมูนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของชาวบ้าน ในที่สุดก็นำไปสู่การรวมกลุ่มประท้วงเพื่อต่อต้านการก่อสร้างเขื่อนและการปิดประตูระบายน้ำ

เที่ยวป่า!!ผาชนะไดกับเจ๊าะแจ๊ะสัญจรอุบลฯ โครงการ20

เป็นทริปที่มีคนไม่มากแต่ความสุขล้นหัวใจและร่างกายของเด็กสาววัย20ปีที่ได้ออกไปพจญภัยด้วยตัวเองได้แบกของหนักๆด้วยตัวเอง
การที่ไปเที่ยวในป่าแบบนี้โดยปราศจากเทคโนโลยี มันชังไม่มีความสุข(สำหรับคนที่เสพการดูซีรีย์เกาหลีอย่างเรา) สัญญาณโทรศัพท์ก็มีเป็นบ้างที่
ห้องน้ำก็ไกล ฝนก็ตก รองเท้าก็เปียก ได้แผลกลับบ้านเหมือนได้เบอร์ผู้ชายห้าหกคน ขาลายอย่างหนัก (บ่นขนาดนี้จะไปเพื่ออะไร)
วันแรกที่รู้ว่าป้าจะไปเดินป่าที่ผาชนะได ในใจก็คิดว่าลองขอไปดีไหมเพราะเราเป็นหอบกลัวขอแล้วป้าไม่ให้ไปเพราะร่างกายไปอำนวยกลัวขอแล้วเสียความรู้สึกตัวเองจนตัดสินใจลองขอ และป้าก็ให้ไป พระเจ้า!!!ไม่หน้าเชื่อ จขกท.เลยไปช่วยเพื่อนไปด้วยคนหนึ่งนางไม่ค่อยพูดเท่าไรเพื่อนทำไรก็จะทำตามด้วยเหมือนเรียก่ายว่าไม่ขัด ตอนแรกไม่คิดว่านางจะเดินไหวเพราะมันเดินไกลมากตั้ง5กิโล แต้สุดท้ายก็ได้ไปด้วยกัน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทาง

เที่ยวน้ำตกโบกลึก บ้านใหม่ดงสำโรง ตำบลนาคำ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี

อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ทั้งนี้น้ำตกโบกลึก เกิดจากลำห้วยสูบที่ไหลมาจากภูสูบ ไหลลดหลั่นลงมาชั้นๆ เกิดการกัดกร่อนของกระแสน้ำจึงทำให้เกิดโบกขนาดใหญ่

น้ำตกผาหลวง

ที่ตั้งและแผนที่
วนอุทยานน้ำตกผาหลวงอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดงภูโหล่น ในท้องที่บ้านนาเลิน ตำบลนาเลิน อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี มีเนื้อที่ประมาณ 11,375 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2538

ขนาดพื้นที่
11375.00 ไร่

หน่วยงานในพื้นที่

ภาพแผนที่

ไม่มีภาพ

ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาติดต่อกันคือ ภูแผงม้ามีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 399 เมตร ภูพระทรายสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 392 เมตร ภูหมีเยี่ยมสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 362 เมตร ภูผักหวานสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 282 เมตร ซึ่งภูเขาเป็นลักษณะสูงชัน และมีที่ราบเป็นลานหินบนเขา 

ลักษณะภูมิอากาศ

พืชพรรณและสัตว์ป่า
พันธุ์ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่พบได้แก่ ประดู่ แดง ชิงชัน พยูง ยาง เต็ง รัง ไม้พื้นล่าง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กและเถาวัลย์ชนิดต่างๆ

สัตว์ป่าที่พบเป็นพวก กระรอก กระแต สัตว์เลื้อยคลานและนกชนิดต่างๆ ที่พบเห็นในปัจจุบัน

การเดินทาง
รถยนต์
สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทางคือ
1. จากจังหวัดอุบลราชธานี–ตระการพืชผล เลี้ยวขวาเข้าอำเภอศรีเมืองใหม่ ระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางและจากอำเภอศรีเมืองใหม่ถึงบ้านนาเลินประมาณ 19 กิโลเมตร เดินทางเข้าน้ำตกอีกประมาณ 1 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 101 กิโลเมตรจากจังหวัดอุบลราชธานี – พิบูลมังสาหาร ข้ามสะพานพิบูลมังสาหาร ตรงไปอำเภอศรีเมืองใหม่ เลี้ยวขวาเข้า อำเภอศรีเมืองใหม่–นาเลิน ประมาณ 19 กิโลเมตร เดินทางเข้าน้ำตก อีกประมาณ 1 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 99 กิโลเมตร

2. จากจังหวัดอุบลราชธานี–พิบูลมังสาหาร ข้ามสะพานพิบูลมังสาหาร ตรงไปอำเภอศรีเมืองใหม่ เลี้ยวขวาเข้า อำเภอศรีเมืองใหม่–นาเลิน ประมาณ 19 กิโลเมตร เดินทางเข้าน้ำตก อีกประมาณ 1 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 99 กิโลเมตร

น้ำตกตาดโตน

น้ำตกตาดโตน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดชัยภูมิ ห่างจากตัวจังหวัดชัยภูมิไปทางทิศเหนือ 21 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่สวยงาม ที่ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติตาดโตน ใกล้ที่ทำการอุทยานฯ มีน้ำไหลตลอดปี โดย เฉพาะในฤดูฝนจะสวยงามเป็นพิเศษ ด้านบนเป็นธารน้ำไหลผ่านลานหินสองฝั่งธารร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ เหมาะที่ จะนั่งพักผ่อนชมธรรมชาติและเล่นน้ำ ด้านบนน้ำตกมีสภาพเป็นลานหินกว้างประมาณ 50 เมตร และยาวไปตาม ลำน้ำ ประมาณ 300 เมตร ทำให้น้ำไหลลาดมาตามลานหิน มีแอ่งน้ำที่สามารถเล่นน้ำได้เป็นจุดๆ และไหลลงมาตก ที่หน้าผาเป็นน้ำตกตาดโตนที่มีความสูงประมาณ 6 เมตร และกว้าง 50 เมตร ในฤดูฝน ( ประมาณเดือนมิถุนายน - กันยายน )

น้ำตกห้วยทรายใหญ่

น้ำตกห้วยทรายใหญ่ (แก่งอีเขียว) อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบุณฑริก-เขายอดมน เป็นน้ำตกที่สวยงาม ห่างจากอำเภอบุณฑริกไปทางทิศเหนือตามเส้นทางหมายเลข 2369 ไปบ้านห้วยทราย เป็นระยะทาง 26 กิโลเมตร ถึงกิโลเมตรที่ 29 มีทางแยกขวาไปอีก 6 กิโลเมตร 
ลักษณะเป็นน้ำตกที่ไหลมาตามลานหินลดหลั่นลงไปด้านล่าง บริเวณร่มรื่นมีน้ำมากในช่วงปลายฤดูฝน เที่ยวชมได้ในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม

วัดป่าไทรงาม (สาขาวัดหนองป่าพง )

วัดป่าไทรงาม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอเดชอุดม ห่างจากสถานีขนส่งอำเภอเดชอุดมประมาณ 1 กิโลเมตร เริ่มก่อตั้งเป็นสำนักสงฆ์เมื่อปี พ.ศ.2515 อาศัยเนื้อที่ป่าสาธารณะ (ป่าช้า) บ้านตลาด จำนวน 25 ไร่ ไม่มีต้นไม้ใหญ่ แห้งแล้ง กันดาร
วัดป่าไทรงาม เกิดขึ้นจากชาวเดชอุดม ศรัทธาในข้อวัตรปฏิบัติของหลวงปู้ชา สุภัทฺโธ วัดหนองป่าพง ชาวอำเภอเดชอุดมจึงไปกราบนมัสการพระคุณเจ้าเพื่อมาชี้แนะแนวทางปฏิบัติ หลวงปู่ชา สุภัทฺโธ จึงให้ความเมตตาส่ง พระอธิการอเนก ยสทินฺโน ซึ่งพื้นเพเดิมเป็นชาวเดชอุดม เป็นหัวหน้าคณะมาจำวัดอยู่สำนักสงฆ์แห่งนี้ นับเป็นสาขาที่ 10 ของวัดหนองป่าพง ปกติสำนักสงฆ์แห่งนี้ มีพระคุณเจ้าจำพรรษาอยู่เป็นประจำทุกปี ประมาณ 8-10 รูป เนื่องจากในขณะนั้น มีวัดซึ่งเป็นเครือข่ายของวัดป่าไทรงามหลายแห่ง จึงได้ส่งพระคุณเจ้าที่เป็นลูกศิษย์ไปประจำสาขาดังกล่าว
วัดป่าไทรงามได้เป็นวัดสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ.2545 ปัจจุบันมีเนื้อที่ 130 ไร่ มีการขุดคลองกว้าง 8 เมตร ลึก 4 เมตร แล้วนำดิน ที่ขุดขึ้นมาทำคูดินให้เป็นกำแพงวัด ปลูกต้นไม้แทนรั้ว เสียงรบกวนต่างๆ และเสียงประกาศจากชุมชนรบกวนได้ยากเพราะกำแพงดิน กำแพงต้นไม้ ช่วยลดปริมาณความดังของเสียงลง และได้ประโยชน์จากน้ำป็นการกักเก็บน้ำอย่างชาญฉลาด ให้ความชุ่มชื้นแก่ต้นไม้ และยังเป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำได้อย่างดี มีการปลูกบัวนานาชนิด นอกจากนี้ ยังช่วยลดอุณหภูมิในฤดูร้อนได้เป็นอย่างดี จนได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ ประจำปี 2544 รับพระราชทานรางวัลเข็มทองคำจาก สมเด็จพระบรม โอรสธิราชฯ สยามมงกุฏราชกุมาร เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2545
ปัจจุบัน
วัดป่าไทรงาม สอนให้ประชาชน ยึดถือหลักธรรมตามแนวคำสอนเหมือนวัดหนองป่าพง โดยมุ่งเน้นให้พุทธศาสนิกชน เกิดปัญญา แก้ปัญหาด้วยตนเอง อาศัยความขยันหมั่นเพียรเป็นที่ตั้ง ท่านทั้งเทศน์ให้ฟังและปฏิบัติเป็นแบบอย่าง พระภิกษุสามเณร มีความเพียรในการปฏิบัติธรรมและทำกิจวัตรประจำวัน โดยอาศัยสติเป็นตัวกำหนดในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดสมาธิและก่อให้เกิดปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ทั้งนี้ เนื่องจากวัดไม่มีเครื่องรางของขลัง ไม่แจกพระเครื่อง หลีกเลี่ยงที่จะรดน้ำมนต์ ไม่มีมหรสพในวัดไม่ว่ากรณีใดๆ การทำบุญไม่นิยมการเรี่ยไร ถ้าอยากทำขอให้ทำด้วยความศรัทธา